รู้หรือไม่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูงถึงสองเท่าของคนทั่วไป…
ถ้าไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง ความดันโลหิตสูงจะก่อให้เกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (STROKE!) โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เสี่ยงเกิดโรคหัวใจกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า
เมื่อไหร่ถึงเรียกว่าเป็นโรคเบาหวาน(ชนิดที่ 2) และ โรคความดันโลหิตสูง?
ตามแนวทางการรักษา วินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หากตรวจพบค่าผิดปกติสองครั้งภายในสองสัปดาห์ดังต่อไปนี้
ระดับน้ำตาลผิดปกติ |
ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารสูงกว่าคนปกติ |
100 – 125 มก./ดล. |
เบาหวานชนิดที่ 2 |
ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารสูงเข้าเกณฑ์โรค |
ตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป |
ความดันโลหิตสูง หากตรวจพบค่าผิดปกติอย่างน้อยสองครั้ง ดังต่อไปนี้
ความดันโลหิตสูง |
คืออะไร? |
เมื่อไหร่เรียก”ความดันสูง”? |
|
วัดที่โรงพยาบาล |
วัดเองที่บ้าน |
||
ความดันตัวบน |
ความดันภายในหลอดเลือดแดง เมื่อหัวใจบีบตัว |
140 มม.ปรอท |
135 มม.ปรอท |
ความดันตัวล่าง |
ความดันภายในหลอดเลือดแดง เมื่อหัวใจคลายตัว |
90 มม.ปรอท |
85 มม.ปรอท |
ยังไม่หมด มีเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้! แต่ตอนนี้เรารู้กันแล้วล่ะ
ความดันโลหิตสูง ยังส่งผลร้ายต่อการคิดวิเคราะห์เมื่ออายุมากขึ้น! นักวิจัยจากจอนส์ ฮอปคินส์ ค้นพบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แม้บางรายจะไม่เกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันหรือ Stroke ให้เห็นเด่นชัด แต่กลับแอบเกิด Stroke เงียบ ๆ ค่อย ๆ ลดการทำงาน ความคิดความอ่านลงไปตามอายุที่มากขึ้น จนอาจเร่งภาวะความจำเสื่อม (Dementia) ให้เกิดขึ้นในท้ายที่สุด
ส่วนโรคเบาหวานนั้น จะค่อย ๆ เกิดผลข้างเคียง รวมถึงผลข้างเคียงที่ ตา ไต และเท้า! (จำง่าย ๆ ว่าตาไตตีนนั่นเอง!) คือเบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy) ทำให้จอตาเสื่อมร้ายที่สุดทำให้ตาบอดได้ โรคไตจากเบาหวาน (Diabetic nephropathy) ทำให้ไตเสื่อมลง และเบาหวานลงเท้า (Diabetic foot) เกิดจากหลอดเลือดเสื่อมจากเบาหวาน ทำให้เนื้อเยื่อและปลายประสาทเสื่อม เกิดแผลได้ง่าย แผลหายช้า อาจถึงขั้นต้องตัดนิ้ว ตัดเท้า หรือขา ในที่สุด
ไม่มีอาการเลยนะ หายแล้วหรือเปล่า?
ผู้ป่วยเบาหวานความดันเมื่อพบหมอ หรืออยู่บ้านถูกลูกหลานกระตุ้นเตือนให้ไปตามนัดหมอ ก็จะอ้างว่าไม่มีอาการอะไร คงหายแล้ว ไม่ต้องกินยาหรอก เสียเวลาหาหมอ แท้ที่จริงแล้วความดันโลหิตสูงและเบาหวานนั้นไม่หายขาด แต่จะแย่ลงได้ง่าย ๆ หากขาดยาและขาดนัดแม้เพียงไม่นาน
ในคนทั่วไปที่ยังไม่เป็นเบาหวานความดัน...การป้องกัน สำคัญที่สุด
- ลดการกินเค็ม
- ผ่อนคลาย
- ออกกำลังกาย คุมน้ำหนัก
- เลิกเหล้า เลิกบุหรี่
- คัดกรองสม่ำเสมอ เริ่มที่อายุ 35 ปี
ใครบ้างที่เสี่ยงเบาหวานกว่าคนทั่วไป?
- ผู้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน
- ผู้มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
- เคยมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยมีภาวะซิสต์ในรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome)
- ผู้มีพฤติกรรมการกินเสี่ยง ติดหวาน เช่น น้ำหวาน
- อายุที่มากขึ้น